วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

หน้าที่พลเมืองฯ

                            

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 255

สิทธิของปวงชนชาวไทย ตามกฏหมายได้บัญญัติไว้ ดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายโดยเท่าเทียมกัน หมายถึง การที่ประชาชนชาวไทยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฏหมาย โดยไม่คำนึงถึง เพศ วัย ศาสนา

สิทธิทางการเมือง หมายถึง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง

- สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน หมายถึง ประชาชนมีสิทธิที่เจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้ เช่น ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของตนได้ตามต้องการ ซึ่งบุคคลอื่นจะล่วงละเมิดทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ได้

– สิทธิในครอบครัว หมายถึง การที่ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐในเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง และการดำรงชีวิตในสังคม

– สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ หมายถึง การที่ประชาชนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรมหรือถูกละเมิด ไม่ว่าในกรณีใดๆ ประชาชนมีสิทธิที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อทางราชการได้

– สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโทษอย่างเป็นธรรม โดยได้รับสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริต สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน หากศาลพิพากษาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

บุคคลจะใช้สิทธิตามอำเภอใจไม่ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและหลักการที่กฏหมายกำหนด โดยใช้โดยสุจริตและไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมและความสงบเรียบร้อย ไม่ขัดต่อกฏหมาย ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การใช้สิทธิสามารถทำได้ด้วยตนเองและแต่งตั้งมอบอำนาจ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกว่ามอบฉันทะ ให้ไปทำแทนผู้มีสิทธินั้นๆ ก็ได้ แต่สำหรับสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฏรนั้น ไม่สามารถใช้แทนกันได้ หรือการใช้สิทธิแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ตามกฏหมายก่อนจึงจะใช้สิทธินั้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น