วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พลเมืองดี

                                                                               
ความหมายของพลเมืองดี
พลเมือง
หมายถึง พละกำลังของประเทศ ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง ต่างจากชาวต่างด้าวเข้าเมือง ชาวต่างประเทศนี้เข้ามาอยู่ชั่วคราว
พลเมืองมีความหมายต่างจากบุคคล ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศใด ย่อมหมายถึงบุคคลทั้งหลายที่มีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศไทยย่อมหมายถึงคนทั้งหลายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายไทย
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

หน้าที่พลเมืองฯ

                            

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 255

สิทธิของปวงชนชาวไทย ตามกฏหมายได้บัญญัติไว้ ดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายโดยเท่าเทียมกัน หมายถึง การที่ประชาชนชาวไทยมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามกฏหมาย โดยไม่คำนึงถึง เพศ วัย ศาสนา

สิทธิทางการเมือง หมายถึง ประชาชนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง

- สิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน หมายถึง ประชาชนมีสิทธิที่เจ้าของทรัพย์สินส่วนบุคคลได้ เช่น ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของตนได้ตามต้องการ ซึ่งบุคคลอื่นจะล่วงละเมิดทรัพย์สินส่วนบุคคลไม่ได้

– สิทธิในครอบครัว หมายถึง การที่ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากรัฐในเรื่องเกียรติยศ ชื่อเสียง และการดำรงชีวิตในสังคม

– สิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ หมายถึง การที่ประชาชนเมื่อได้รับความไม่เป็นธรรมหรือถูกละเมิด ไม่ว่าในกรณีใดๆ ประชาชนมีสิทธิที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อทางราชการได้

– สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาโทษอย่างเป็นธรรม โดยได้รับสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้สุจริต สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทน หากศาลพิพากษาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์

บุคคลจะใช้สิทธิตามอำเภอใจไม่ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตและหลักการที่กฏหมายกำหนด โดยใช้โดยสุจริตและไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมและความสงบเรียบร้อย ไม่ขัดต่อกฏหมาย ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น การใช้สิทธิสามารถทำได้ด้วยตนเองและแต่งตั้งมอบอำนาจ เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกว่ามอบฉันทะ ให้ไปทำแทนผู้มีสิทธินั้นๆ ก็ได้ แต่สำหรับสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฏรนั้น ไม่สามารถใช้แทนกันได้ หรือการใช้สิทธิแทนผู้เยาว์ หรือบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ตามกฏหมายก่อนจึงจะใช้สิทธินั้นได้

ความซื่อสัตย์

         
ก่อนอื่นต้องถามตัวคุณเองก่อนว่า คุณมีความซื่อสัตย์ ( Integrity) ในการทำงานมากน้อยแค่ไหน และแน่นอนว่าคงจะไม่มีใครตอบว่าตนเองไม่มีความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์จึงเป็นคุณลักษณะที่สำคัญและเป็นที่ต้องการในทุกองค์การ ซึ่งความซื่อสัตย์นอกจากจะหมายถึงการ รักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทแล้ว ความซื่อสัตย์ยังหมายรวมไปถึงการให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความเป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของบริษัท และยังพบว่าอีกว่ามีหลายองค์การได้กำหนดความซื่อสัตย์เป็นวัฒนธรรมองค์การ (Corporate Culture) หรือคุณค่าร่วม ( Core Value) ที่เกี่ยวข้องกับความคิดความเชื่อที่อยากให้พนักงานทุกคนปฏิบัติ
          แล้วทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ